ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
-
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ
เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายธุรกิจที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายบริหาร คณะกรรมการบริษัทฯ จึงกำหนดให้โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก ได้แก่- คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ซึ่งรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อีก 6 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน คณะกรรมการลงทุน คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการผลิตภัณฑ์
- คณะผู้บริหารและคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง ซึ่งรายงานตรงต่อคณะผู้บริหารอีก 7 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน คณะกรรมการประกันภัยและสินไหมทดแทน คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน คณะกรรมการบริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างงานบริหารอาคาร และคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือมีค่าเสียหายมูลค่าสูง
-
คณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
- คุณสมบัติของกรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย กรรมการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะด้าน ทักษะที่หลากหลายเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ โดยไม่จำกัดเพศ รวมถึงมีความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ พร้อมที่จะแสดงความคิดเห็นโดยอิสระในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้มีส่วนได้เสีย สามารถอุทิศเวลาและความพยายามให้กับการเป็นกรรมการบริษัทฯ ได้อย่างเต็มที่-
สำหรับกรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้
- (1) ถือหุ้นไม่เกิน 0.5% ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ทั้งนี้ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้น ๆ ด้วย
- (2) ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็นข้าราชการ หรือที่ปรึกษาของส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ
- (3) ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
- (4) ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีมูลค่ารายการตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิหรือตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่ากับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระ รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง
- (5) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ สังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง
- (6) ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใด ๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุม และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปีก่อนได้รับการแต่งตั้ง
- (7) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
- (8) ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย
- (9) ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระ
-
สำหรับกรรมการตรวจสอบต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- (ก) มีคุณสมบัติของกรรมการอิสระทุกข้อ
- (ข) ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ
- (ค) ไม่เป็นกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกันเฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน
- (ง) กรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 ท่าน มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้ ทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและ สรรหาจะทำหน้าที่พิจารณาทบทวนคุณสมบัติของกรรมการบริษัทฯ เพื่อกำหนดคุณสมบัติที่เหมาะสมของกรรมการใหม่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับคณะกรรมการบริษัทฯ
- โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดโดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยตามข้อบังคับบริษัทฯ โดยมีกรรมการที่เป็นผู้บริหารไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดและมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน
- หน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถแยกได้ดังนี้
-
-
คณะกรรมการบริษัทฯ
- (1.1) พิจารณาความเหมาะสมในการแต่งตั้งและกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดย่อย รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุดย่อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- (1.2) พิจารณามอบอำนาจอย่างเหมาะสมให้แก่ประธานคณะผู้บริหาร ผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหาร เพื่อให้สามารถดำเนินงานธุรกิจปกติได้อย่างรวดเร็ว
- (1.3) พิจารณาความเหมาะสมในการแต่งตั้งเลขานุการบริษัท และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเลขานุการบริษัท
- (1.4) พิจารณาการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทฯ ที่เกินวงเงินอนุมัติของคณะกรรมการลงทุน
- (1.5) พิจารณาการเข้าทำรายการกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการของบริษัทฯ หรือเข้าข่ายรายการที่เกี่ยวโยงกัน / การได้มาหรือจำหน่ายไป
- (1.6) พิจารณาความเหมาะสมในการแต่งตั้ง และถอดถอนบุคคลที่มีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ รวมถึงกำหนดค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
- (1.7) พิจารณางบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดซื้อจัดจ้างงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทฯ ที่เกินวงเงินอนุมัติของคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- (1.8) ดำเนินการอื่น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
คณะกรรมการบริษัทฯ มีบทบาทในการกำกับดูแลการบริหารงานของบริษัทฯ เพื่อมั่นใจว่าฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับอนุมัติ เป้าหมายของการดำเนินงานที่นำเสนอ และมุ่งมั่นในการสร้างผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เพื่อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงการดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) คณะกรรมการบริษัทฯ มีอำนาจดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้-
(2) คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
- (2.1) พิจารณากำหนดและอนุมัติทิศทาง นโยบาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และแผนธุรกิจ ของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ที่นำเสนอโดยฝ่ายบริหาร และกำกับดูแลให้บริษัทฯ คำนึงถึงการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและหลีกเลี่ยงการรับความเสี่ยงที่เกินกว่าระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ รวมถึงติดตามการดำเนินงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามกลยุทธ์และนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- (2.2) พิจารณาอนุมัตินโยบายการกำกับดูแลกิจการ กรอบการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยง รายงานการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมและการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทฯ นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน นโยบายการลงทุนและการประกอบธุรกิจอื่น นโยบายด้านสินเชื่อ กรอบการบริหารการประกันภัยต่อ นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน นโยบายการแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตและการกระทำคอร์รัปชัน เพื่อให้ฝ่ายบริหารนำไปปฏิบัติ รวมถึงการทบทวนนโยบายดังกล่าวและประเมินผลการปฏิบัติเพื่อนำมาพิจารณาปรับปรุงให้เหมาะสมเป็นประจำทุกปี
- (2.3) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการกำหนดนโยบายจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน โดยคำนึงถึงความมั่นคงในระยะยาวของบริษัทฯ
- (2.4) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ข้อพึงปฏิบัติที่ดีของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ
- (2.5) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีโครงสร้างองค์กร และหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน เพื่อให้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
- (2.6) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีระบบการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในและการตรวจสอบที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
- (2.7) กำกับดูแลให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ จัดทำรายงาน (Management Letter) และข้อคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ รวมถึงจัดให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการตรวจสอบและผู้สอบบัญชีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย
- (2.8) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ประธานคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการใหญ่ เป็นประจำทุกปี รวมทั้งกำกับดูแลให้มีกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร
- (2.9) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการเปิดเผยข้อมูลด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อสาธารณะ
- (2.10) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีกระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเปิดเผยข้อมูลสำคัญต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา ต่อสาธารณะและหน่วยงานกำกับตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดทำรายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินไว้ในรายงานประจำปี
- (2.11) กำกับดูแลให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
- (2.12) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีเงินกองทุนที่มั่นคงและเพียงพอรองรับการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต และติดตามฐานะเงินกองทุนอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีกระบวนการหรือเครื่องมือที่ใช้ดูแลความเพียงพอของเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่มั่นคง
- (2.13) กำกับดูแลให้ฝ่ายบริหารรายงานเรื่องที่สำคัญของบริษัทฯ และมีกระบวนการในการรายงานข้อมูล เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะปฏิบัติตามอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้อย่างสมบูรณ์
- (2.14) กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยจัดให้บริษัทฯ มีขั้นตอนหรือกระบวนการในการเสนอขายและชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาอย่างชัดเจน ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หรือใช้ประโยชน์จากความเข้าใจผิดของลูกค้า
- (2.15) ดูแลให้มีกระบวนการสรรหาและแผนการสืบทอดตำแหน่งของกรรมการ และผู้บริหารของบริษัทฯ ที่มีประสิทธิผล คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้แต่งตั้งประธานคณะผู้บริหาร และผู้อำนวยการใหญ่ เพื่อเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริษัทฯ
- (2.16) จัดให้มีช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในการติดต่อสื่อสารกับคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อแจ้งข้อมูลหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มายังบริษัทฯ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดต่อไป
- (2.17) กำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้สอดรับกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงกำกับดูแลให้มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
- (2.18) กำกับดูแลให้มีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
- (2.19) ดำเนินการอื่น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
-
-
การแยกบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหารอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดย
- (1.1) เป็นผู้นำของคณะกรรมการบริษัทฯ รับผิดชอบในการกำกับ ติดตาม และดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนงานที่กำหนดไว้
- (1.2) กำหนดวาระการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยหารือร่วมกับประธานคณะผู้บริหาร และมีมาตรการที่ดูแลให้เรื่องสำคัญได้ถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม
- (1.3) เป็นประธานที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และเป็นผู้ลง คะแนนเสียงชี้ขาดในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันทั้งสองฝ่าย
- (1.4) เรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ หรืออาจมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
- (1.5) เป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นและควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบวาระที่กำหนดไว้
- (1.6) เสริมสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการบริษัทฯ
- (1.7) จัดสรรเวลาไว้อย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องและ มากพอที่กรรมการจะอภิปรายประเด็นสำคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน รวมถึงส่งเสริมให้กรรมการมีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบและให้ความเห็นได้อย่างอิสระ
- (1.8) เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายจัดการ
- (1.9) ดูแลให้มั่นใจว่า กรรมการบริษัทฯ ทุกท่านมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
(1) ประธานกรรมการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้-
(2) ประธานคณะผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
- (2.1) กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ และนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- (2.2) ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และรายงานผลการดำเนินงานในเรื่องที่สำคัญต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ
- (2.3) กำกับดูแลให้มีการออกระเบียบ หรือประกาศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามนโยบาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- (2.4) กำกับดูแลให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่
- (2.5) พิจารณาอนุมัติการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจปกติตามวงเงินอนุมัติที่กำหนดไว้
- (2.6) ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
-
- การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
- (1) คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดการประชุมไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี เพื่อให้กรรมการบริษัทฯ ทุกท่านได้รับทราบและจัดสรรเวลาเพื่อเข้าร่วมการประชุม และอาจจัดให้มีการประชุมพิเศษเพิ่มได้ตามความจำเป็น
- (2) หนังสือเชิญประชุมและเอกสารประกอบวาระการประชุมจะส่งให้กรรมการทุกท่านพิจารณาล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม ทั้งนี้ กรรมการทุกท่านสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุมได้โดยเสนอผ่านเลขานุการบริษัท
- (3) ในการประชุม ประธานที่ประชุมมีหน้าที่จัดสรรเวลาในการนำเสนอสารสนเทศและการอภิปราย ซักถาม เปิดโอกาส และสนับสนุนให้กรรมการแต่ละท่านแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
- (4) ในการพิจารณาวาระต่าง ๆ กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา ไม่มีสิทธิออกเสียงและต้องไม่อยู่ในที่ประชุมในวาระดังกล่าว
- (5) กรรมการสามารถขอคำชี้แจงหรือขอตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิจารณาเพิ่มเติมได้จากประธานคณะผู้บริหารหรือเลขานุการบริษัทได้
- (6) คณะกรรมการบริษัทฯ สนับสนุนให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารสามารถประชุมระหว่างกันเองได้ โดยมอบหมายให้เลขานุการบริษัทเป็นผู้อำนวยความสะดวก เมื่อได้รับการร้องขอจากกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร
- คณะกรรมการเฉพาะเรื่อง คณะกรรมการบริษัทฯ แต่งตั้งกรรมการและ/หรือผู้บริหารแต่ไม่รวมประธานคณะกรรมการ เป็นคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเพื่อช่วยกลั่นกรองงานสำคัญให้เป็นไปอย่างรอบคอบขึ้น จำนวน 6 คณะ โดยมีองค์ประกอบและขอบเขตความรับผิดชอบดังนี้
- คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระ ไม่น้อยกว่าจำนวน 3 ท่าน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
-
หน้าที่รับผิดชอบ
- (1) สอบทานให้บริษัทฯ มีรายงานทางการเงินที่มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง เชื่อถือได้ มีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญโดยครบถ้วน และเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
- (2) สอบทานและให้ความเห็นชอบแผนงานตรวจสอบประจำปี
- (3) สอบทานและประเมินผลให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) ระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) และระบบการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม มีประสิทธิผล และรัดกุม ตามกรอบที่ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
- (4) สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย ข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
- (5) พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง เลิกจ้าง บุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- (6) พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ
- (7) ให้ข้อเสนอแนะแก่ฝ่ายบริหารเพื่อการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่า มีรายการหรือการกระทำดังต่อไปนี้
(ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ข) การทุจริต มีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
- (8) จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัทฯ
(ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ
(ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
(ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
(จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
(ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
(ซ) รายการอื่นที่เห็นว่า ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
- (9) สอบทานแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่น เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ มีระบบต่าง ๆ ในการต่อต้านการคอร์รัปชั่นตามที่ได้รับรายงานไว้ในแบบประเมินตนเองของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
- (10) ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี
- คณะกรรมการกำหนดค่าตอบแทนและสรรหา ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่าจำนวน 3 ท่าน โดยประธานคณะกรรมการและกรรมการอย่างน้อยอีก 1 ท่าน ต้องเป็นกรรมการอิสระ และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
-
หน้าที่รับผิดชอบ
- (1) ดูแลสัดส่วนจำนวนและองค์ประกอบของคณะกรรมการให้เหมาะสมกับองค์การ
- (2) สรรหาบุคคลเพื่อทดแทนกรรมการในกรณีที่ครบวาระ ลาออก หรือกรณีอื่น ๆ และนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง แล้วแต่กรณีตามข้อบังคับของบริษัทฯ
- (3) พิจารณาสรรหาบุคคลเพื่อทดแทนประธานคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการใหญ่ ในกรณีที่ครบวาระ ลาออก หรือกรณีอื่น ๆ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง
- (4) ดูแลและกำหนดนโยบายค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่น ๆ ของคณะกรรมการ ประธานคณะผู้บริหาร และผู้อำนวยการใหญ่ ให้เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบต่อองค์กร
- (5) ดูแลให้มีแผนสืบทอดตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการใหญ่
การประชุม เป็นแบบเฉพาะกิจเมื่อมีความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี
- คณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืน ประกอบด้วยกรรมการและ/หรือผู้บริหาร ไม่น้อยกว่าจำนวน 3 ท่าน โดยประธานคณะกรรมการต้องเป็นกรรมการอิสระ และมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
-
หน้าที่รับผิดชอบ
- (1) พิจารณากำหนดและทบทวนเพื่อปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างเหมาะสม
- (2) พิจารณากำหนดและทบทวนเพื่อปรับปรุงข้อกำหนดที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ข้อพึงปฏิบัติที่ดีแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ
- (3) ติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- (4) กำกับดูแลให้มีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน
- (5) ติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายด้านการพัฒนาองค์กรเพื่อความยั่งยืน
- (6) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) พร้อมความเห็นในแนวปฏิบัติและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงตามความเหมาะสม
การประชุม เป็นแบบเฉพาะกิจเมื่อมีความจำเป็น แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี
- คณะกรรมการลงทุน ประกอบด้วยกรรมการหรือผู้บริหารที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุน ตลาดเงิน และตลาดทุน อย่างน้อย 3 ท่าน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งนับจากวันที่คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้เริ่มดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
-
หน้าที่รับผิดชอบ
- (1) กำหนดนโยบายการลงทุนและนโยบายการประกอบธุรกิจอื่นที่เหมาะสม ยืดหยุ่นได้ตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติ
- (2) พิจารณาให้ความเห็นชอบกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัทฯ
- (3) พิจารณาและอนุมัติการลงทุนในวงเงินเกินกว่า 500 ล้านบาทต่อครั้ง สูงสุดไม่เกิน 800 ล้านบาทต่อครั้ง และหากเกินกว่า 800 ล้านบาทต่อครั้ง ให้นำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
- (4) กำกับดูแลสถานะของเงินลงทุนของบริษัทฯ
- (5) สอบทานและปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- (6) ทำหน้าที่กำกับดูแลการประกอบธุรกิจอื่นอีกหน้าที่หนึ่ง โดยกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและวงเงินอนุมัติลงทุนในลักษณะเดียวกันกับคณะกรรมการลงทุน
- (7) จัดทำกรอบนโยบายด้านสินเชื่อ เพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ
- (8) กำกับดูแลด้านสินเชื่อ ให้เป็นไปตามนโยบายด้านสินเชื่อ นโยบายการบริหารความเสี่ยง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- (9) กำกับดูแลในเรื่องธรรมาภิบาล ความโปร่งใส การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้านสินเชื่อ
- (10) กำกับดูแลระบบงาน บุคลากร ข้อมูลที่ใช้ประกอบการให้สินเชื่อ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน
- (11) รายงานผลการให้สินเชื่อต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบอย่างสม่ำเสมอ
การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย กรรมการ อย่างน้อย 1 ท่าน และผู้บริหารหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า จำนวน 5 ท่าน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งนับจากวันที่คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้เริ่มดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
-
หน้าที่รับผิดชอบ
- (1) กำหนดและพิจารณาทบทวนกรอบการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยง และขอบเขตการบริหารความเสี่ยง ให้ครอบคลุมความเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ เงินกองทุน ชื่อเสียง หรือการดำรงอยู่ของบริษัท อย่างน้อยตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงรายงานการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมและการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาอนุมัติ
- (2) กำกับดูแลและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
- (3) พิจารณาอนุมัติและทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นประจำทุกปี
- (4) ประเมินความเพียงพอของมาตรการบริหารความเสี่ยง รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
- (5) จัดให้มีการประชุมเพื่อติดตามสถานะความเสี่ยง รวมถึงความคืบหน้าในการบริหารความเสี่ยง และให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบการบริหารความเสี่ยง นโยบายการบริหารความเสี่ยง กลยุทธ์ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ขององค์กรตามที่ได้กำหนดไว้ และรายงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบอย่างน้อย ไตรมาสละ 1 ครั้ง
- (6) สนับสนุนการดำเนินงานและส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงให้ทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้บรรลุเป้าหมายของการบริหารความเสี่ยงองค์กร
- (7) จัดเตรียมแผนและมาตรการจัดการเพื่อรองรับความเสี่ยงกรณีฉุกเฉิน
การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย กรรมการหรือผู้บริหารบริษัทหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 1 ท่าน และหัวหน้าหน่วยงาน หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเทียบเท่าหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า จำนวน 9 ท่าน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งนับจากวันที่คณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้เริ่มดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
-
หน้าที่รับผิดชอบ
- (1) กำหนดกรอบและนโยบายการออกผลิตภัณฑ์เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ โดยเชื่อมโยงความเสี่ยง กลยุทธ์ และเงินกองทุนของบริษัทฯ รวมถึงคำนึงถึงหลักการประกันภัย หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย หลักกฎหมาย ความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อลูกค้า
- (2) กำกับดูแลให้การดำเนินงานของบริษัทฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมายการเงิน และแผนงานที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด
- (3) กำกับดูแลให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแลและติดตามการออกผลิตภัณฑ์ประกันภัย
- (4) กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติกับลูกค้าอย่างเป็นธรรม
- (5) กำกับดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์มีความพร้อม ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ โดยสอดคล้องกับปริมาณธุรกิจ
- (6) กำกับและติดตามดำเนินการงานต่าง ๆ ของบริษัทฯ ให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์
- (7) รายงานผลข้อมูลเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
- คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระ ไม่น้อยกว่าจำนวน 3 ท่าน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
- คุณสมบัติของกรรมการ กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ
- เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบในการแต่งตั้งและกำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท ดังนี้
- คุณสมบัติของเลขานุการบริษัท
- (1) มีความรอบรู้และเข้าใจในธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานเลขานุการบริษัท ได้แก่ หน้าที่ของกรรมการ หน้าที่ของบริษัทฯ และมีความรู้ด้านกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาหาความรู้และติดตาม ข้อมูล ข่าวสาร เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
- (2) ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่น ทุ่มเท และสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยอยู่ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจ
- (3) ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่กระทำการใด ๆ อันจะก่อให้เกิดผลเสียต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของบริษัทฯ
- (4) ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตัวจากโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งเก็บรักษาความลับของบริษัทฯ ได้เป็นอย่างดี
- (5) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการติดต่อประสานงานกับฝ่ายงานและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ
- ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของเลขานุการบริษัท
- (1) ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่กรรมการในข้อกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของบริษัทฯ ที่คณะกรรมการต้องทราบ และติดตามให้มีการปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานการเปลี่ยนแปลงในข้อกำหนดกฎหมายที่มีนัยสำคัญแก่กรรมการ
- (2) จัดการประชุมผู้ถือหุ้นและประชุมคณะกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัทฯ และข้อพึงปฏิบัติต่าง ๆ
- (3) บันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นและการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
- (4) จัดทำและเก็บรักษาทะเบียนกรรมการ รายงานประจำปีของบริษัทฯ หนังสือ นัดประชุมผู้ถือหุ้น หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุม
- (5) เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการและผู้บริหาร พร้อมทั้งจัดทำสำเนาส่งให้ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการตรวจสอบทราบภายใน 7 วันทำการนับจากวันที่ได้รับรายงาน
- (6) ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงานสารสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบต่อหน่วยงานที่กำกับบริษัทฯ ตามระเบียบและข้อกำหนดของหน่วยงานทางการ
- (7) ติดต่อและสื่อสารกับผู้ถือหุ้นทั่วไปให้ได้รับทราบสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้นและข่าวสารของบริษัทฯ
- (8) ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการบริษัทฯ
- (9) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
- คุณสมบัติของเลขานุการบริษัท
- คณะผู้บริหาร และอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง
- คณะผู้บริหาร ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานคณะผู้บริหาร โดยคณะผู้บริหารมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานตาม กลยุทธ์และนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด เพื่อให้บริษัทฯ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) พิจารณากลั่นกรองวิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ เป้าหมายการดำเนินธุรกิจ และงบประมาณประจำปี นำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณา
- (2) รับผิดชอบดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ นโยบายในการดำเนินธุรกิจ กรอบการบริหารความเสี่ยง และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ โดยต้องคำนึงถึงการสร้างมูลค่าในระยะยาวและการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
- (3) พิจารณากลั่นกรองการจัดหาหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทฯนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา
- (4) ส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการให้บริษัทฯ มีการบริหารจัดการความเสี่ยง และระบบการควบคุมภายในอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง และปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัยอย่างเป็นธรรม
- (5) กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและความยั่งยืนเพื่อพิจารณา
- (6) รายงานข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ระดับความเสี่ยงของบริษัทฯ และผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารต่อคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ สามารถกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- (7) กำหนดโครงสร้างสายการบังคับบัญชา และหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน เพื่อเอื้อต่อการบริหารจัดการความเสี่ยง และการกำกับ ควบคุม ตรวจสอบ อย่างมีประสิทธิภาพ
- (8) ส่งเสริมให้บริษัทฯ มีวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง โดยดูแลและควบคุมความเสี่ยงของบริษัทฯ ให้อยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) รวมทั้งสื่อสารและให้ความรู้แก่พนักงานทุกคนเกี่ยวกับกรอบการบริหารความเสี่ยงและนโยบายการบริหารความเสี่ยง
- (9) จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารเป็นประจำทุกปี โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด และรายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
- (10) ต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเต็มเวลาที่องค์กรอื่น เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า การปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลาที่องค์กรอื่นนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ให้บริษัทฯ
- (11) รับผิดชอบและทำให้มั่นใจว่า การรายงานการบริหารความเสี่ยงแบบองค์รวมและการประเมินความเสี่ยงและความมั่นคงทางการเงินของบริษัทฯ มีความถูกต้อง แม่นยำ ครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- (12) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย
- คณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง คณะผู้บริหารแต่งตั้งผู้บริหารเป็นคณะกรรมการช่วยกลั่นกรองเรื่องสำคัญเพื่อแบ่งเบาภารกิจของคณะผู้บริหารขึ้น 7 คณะ แต่ละคณะมีองค์ประกอบและขอบเขตความรับผิดชอบดังนี้
- คณะกรรมการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างน้อย 7 ท่าน
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) กำหนดทิศทางการทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและแผนพัฒนาพนักงาน ให้มีความสอดคล้องกับแผนและกลยุทธ์ของบริษัทฯ พร้อมทั้งให้ความเห็นในการนำเสนอแผนงานของหน่วยงานต่าง ๆ
- (2) รับทราบการรายงานความคืบหน้าของแผนงานและกิจกรรม รวมถึงให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของหน่วยงาน
- (3) วิเคราะห์ นำเสนอ กิจกรรมหรือโครงการใหม่ ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กร เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อคณะผู้บริหาร
- (4) วิเคราะห์ นำเสนอ สนับสนุนการ เข้าร่วมประกวดรางวัลต่าง ๆ ในโครงการที่หน่วยงานภายนอกมีการจัดขึ้นต่อคณะผู้บริหาร เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
- (5) ให้คำแนะนำ บริหารการจัดกิจกรรมพนักงาน ได้แก่ งานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมด้านกีฬา งานบริจาคโลหิต และสนับสนุนการจัดกิจกรรมของบริษัท ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร
- การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง
การรายงาน รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะผู้บริหารของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- คณะกรรมการประกันภัยและสินไหมทดแทน ประกอบด้วยผู้บริหารที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจเกี่ยวกับการรับประกันภัย และการพิจารณาความเสี่ยงภัยในแต่ละประเภท รวมถึงการประกันภัยต่อ อย่างน้อย 3 ท่าน
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) กำหนดนโยบายการรับประกันภัย การเอาประกันภัยต่อ การจัดการค่าสินไหมทดแทนที่เหมาะสม ยืดหยุ่นตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอคณะผู้บริหาร
- (2) พิจารณาและอนุมัติแนวทางการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย
- (3) สอบทานและปรับเปลี่ยนนโยบายการรับประกันภัย การเอาประกันภัยต่อ และการจัดการค่าสินไหมทดแทน เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- (4) กำหนดนโยบาย แผนธุรกิจ และกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญในการสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งมีการสื่อสารและถ่ายทอดวัฒนธรรมการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรมให้ทั่วถึงทุกส่วนงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้า ซึ่งรวมถึงผู้เสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยในทุกช่องทางของบริษัทฯ
- (5) พิจารณาให้ความเห็นชอบกฎระเบียบ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการรับประกันภัย การเอาประกันภัยต่อ และการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนของบริษัทฯ
- (6) พิจารณาและอนุมัติขอบเขตอำนาจในการรับประกันภัยและค่าสินไหมทดแทน
- การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง
การรายงาน รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะผู้บริหารของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยผู้บริหารที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบงาน อย่างน้อย 5 ท่าน
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานและสนับสนุนกลยุทธ์ของบริษัทฯ
- (2) พิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน
- (3) พิจารณาอนุมัติงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดซื้อจัดจ้างงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อครั้ง และหากเกินกว่า 500 ล้านบาทต่อครั้ง ให้นำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
- (4) ติดตามผลสำเร็จของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในโครงการหรือแผนงานต่าง ๆ
- (5) ทบทวนนโยบายและกลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน หากไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
- การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง
- คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วยผู้แทนนายจ้าง 1 ท่าน ผู้แทนระดับบังคับบัญชา 5 ท่าน และผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการ 5 ท่าน เป็นกรรมการมีวาระ 2 ปี
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) สำรวจด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
- (2) รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานและ/หรือมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการต่อนายจ้าง
- (3) ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- (4) กำหนดกฎระเบียบด้านความปลอดภัย มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
- (5) จัดทำนโยบาย แผนงานประจำปี โครงการหรือกิจกรรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย หรือการเจ็บป่วยอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
- (6) จัดทำโครงการหรือแผนฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีว อนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้างและบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอต่อนายจ้าง
- (7) ติดตามความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
- (8) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการ เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
- (9) ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
- (10) กำกับดูแลให้มีการดำเนินกิจกรรม 5ส อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมพัฒนาและรักษามาตรฐาน 5ส ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
- การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง
การรายงาน รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะผู้บริหารของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- คณะกรรมการบริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ โครงสร้างและหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- (2) ผลักดันให้องค์กรเห็นถึงความสำคัญของการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ การปฏิบัติตามนโยบายและกฎหมาย รวมถึงความจำเป็นในการปรับปรุงและพัฒนาด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
- (3) สนับสนุนทรัพยากรสำหรับจัดตั้งระบบ การใช้งานและบริหารจัดการ การตรวจสอบและทบทวน การบำรุงรักษา และการปรับปรุงระบบบริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง
การรายงาน รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะผู้บริหารของบริษัทฯ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างงานบริหารอาคาร
หน้าที่รับผิดชอบ- (1) กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการจัดซื้อจัดจ้างงานบริหารอาคารในภาพรวม พร้อมทั้งทบทวนนโยบายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ
- (2) พิจารณาอนุมัติแผนงานและโครงการในหลักการ รวมถึงงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับงานบริหารอาคาร พร้อมทั้งติดตามผลสำเร็จของแผนและโครงการต่าง ๆ
- (3) พิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายทั่วไปและค่าใช้จ่ายสำหรับงานที่มีลักษณะเฉพาะ/หรือโครงการ/หรือมีลักษณะประจำตามกำหนดเวลาในวงเงินเกิน 5 แสนบาทขึ้นไป
- (4) พิจารณาอนุมัติกำหนดราคาให้เช่าอาคารสำนักงาน และการลงทุนที่เกี่ยวเนื่องกับอาคารที่ให้เช่า
การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง
- คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หรือมีค่าเสียหายมูลค่าสูง
หน้าที่รับผิดชอบ- พิจารณาและตัดสินชี้ขาดเรื่องร้องเรียนที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หรือมีค่าเสียหายมูลค่าสูงตั้งแต่ 50 ล้านบาท โดยพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน หรือเอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี)
การประชุม กำหนดไว้อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี
- พิจารณาและตัดสินชี้ขาดเรื่องร้องเรียนที่มีความยุ่งยากซับซ้อน หรือมีค่าเสียหายมูลค่าสูงตั้งแต่ 50 ล้านบาท โดยพิจารณาเรื่องร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียน หรือเอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี)
- คณะกรรมการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ประกอบด้วยผู้บริหารจากหน่วยงานต่าง ๆ อย่างน้อย 7 ท่าน
- คณะผู้บริหาร ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งจากประธานคณะผู้บริหาร โดยคณะผู้บริหารมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดำเนินงานตาม กลยุทธ์และนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด เพื่อให้บริษัทฯ บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ
- การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายให้กรรมการใหม่ได้รับการปฐมนิเทศความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการสนับสนุนให้กรรมการทุกท่านเข้ารับการอบรมหลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ผู้บริหารเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้และช่วยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ - นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน พึงหลีกเลี่ยงการประกอบธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ และการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับตนเอง บุคคล หรือนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ในกรณีที่จำเป็นต้องทำรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้- (1) พิจารณารายการด้วยความรอบคอบ โปร่งใส และความจำเป็นของการทำรายการดังกล่าว โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ เป็นหลัก
- (2) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด โดยรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือรายการที่เกี่ยวโยงกันจะนำเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาให้ความเห็นก่อนที่จะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา ซึ่งกรรมการที่มีส่วนได้เสียในรายการดังกล่าว จะไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณา
- (3) จัดทำรายงานและเปิดเผยข้อมูลของรายการที่เกี่ยวโยงกันให้ครบถ้วนตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- นโยบายการไปดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของประธานคณะผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายให้ประธานคณะผู้บริหาร สามารถดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นได้ โดยบริษัทฯ จะต้องรายงานการไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นของประธานคณะผู้บริหารให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทราบทุกครั้ง - นโยบายการกำกับดูแลบริษัทร่วม
บริษัทฯ มีนโยบายการลงทุนในธุรกิจอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัทฯ โดยเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพที่จะเติบโตทั้งในด้านการขยายธุรกิจและสามารถสร้างผลกำไรให้แก่บริษัทฯ ในระยะยาว ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้มีกลไกในการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทร่วม เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์ในเงินลงทุนของบริษัทฯ ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มและความเชื่อมั่นให้กับ ผู้มีส่วนได้เสีย จึงได้มอบหมายให้คณะผู้บริหารรับผิดชอบดำเนินการกำกับดูแลบริษัทร่วม ดังต่อไปนี้- (1) แต่งตั้งผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อเป็นตัวแทนเข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทร่วมตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ
- (2) กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานของบริษัทร่วมที่ได้ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
- (3) กำกับดูแลให้บริษัทร่วมมีการเปิดเผยข้อมูลฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการทำรายการสำคัญให้มีความครบถ้วน ถูกต้อง และภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้การลงมติในเรื่องสำคัญในระดับเดียวกับที่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ หากบริษัทฯ ดำเนินการเอง ต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ ก่อนทำรายการ
- (4) กำกับดูแลให้บริษัทร่วมมีระบบควบคุมภายในที่เหมาะสมและรัดกุมเพียงพอ เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทร่วม
- โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ